rebuild-vwin247th-logorebuild-vwin247th-logorebuild-vwin247th-logorebuild-vwin247th-logo
  • หน้าแรก
  • โปรโมชั่น
  • วิธีสมัครVwin
  • วิเคราะห์บอลวันนี้
  • เกมสล็อต
  • คาสิโน
    • บาคาร่า
  • ข่าวกีฬา
    • บทความ
✕
สุดยอดทีมแชมป์พรีเมียร์ลีก-1
8 สุดยอดทีมแชมป์พรีเมียร์ลีก
13/05/2021
zeanstep
แจก สูตรบอลชุด รับ “ฟุตบอลยูโร2021”
18/06/2021

กีฬาฟุตบอล

vwin
vwin
เดิมพันตอนนี้

ประวัติฟุตบอล…หรือกว่าจะมาเป็นกีฬาฟุตบอล กีฬายอดนิยมที่คนทั่วโลกชื่นขอบ “กีฬาฟุตบอล” เดิมที่ไม่มีใคร ทราบแน่ชัดว่า มีต้นกำเนิดมาจากประเทศใด แต่สันนิษฐานว่า อาจเป็นกีฬามาจากประเทศฝรั่งเศสและอิตาลี แต่ที่แน่ชัดของประวัติฟุตบอล คือ ได้กลายมาเป็นกีฬาอาชีพในปีพ.ศ.2431 โดยประเทศอังกฤษ เป็นประเทศแรก ที่ได้นำฟุตบอล มาเป็นกีฬาอาชีพ  โดยการจัดของสโมสรฟีฟ่า ซึ่งถือเป็นองค์กรระดับนานาชาติของกีฬาฟุตบอลที่ใหญ่ที่สุด

vwin247th แหล่งรวมข่าวสาร เว็บไซต์กีฬา คาสิโน สล็อต อันดับ1ของไทย วิเคราะห์บอลวันนี้

ประวัติฟุตบอลในประเทศไทย

ในสารบัญประวัติฟุตบอลในประเทศไทย ที่เริ่มมีการแข่งขันฟุตบอล โดยเริ่มตั้งแต่สมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ที่พระองได้ส่ง พระเจ้าลูกยาเธอ พระเจ้าหลานเธอ และข้าราชการบริพารทั้งหลาย ไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษ และผู้ที่ไปศึกษานั้น จึงได้เห็นการแข่งขันกีฬาที่เรียกว่า “ฟุตบอล” จึงได้นำกีฬานี้ กลับมา และจัดให้มีการแข่งขันที่ไทย โดยผู้ที่เป็นบุคคลสำคัญ ในการนำกีฬาชนิดนี้เข้ามาก็คือ “เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี” หรือ “ครูเทพ” 

ประวัติฟุตบอล

การแข่งขันฟุตบอลในไทย

เมื่อฟุตบอลเริ่มเป็นกีฬายอดนิยม และกลายมาเป็นกีฬาอาชีพ ทำให้จัดให้เกิดเป็นการแข่งขันขึ้น โดยการแข่งขันครั้งแรก เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2443 ในการแข่งขันที่มีชื่อว่า “การแข่งขันฟุตบอลตามข้อบังคับของแอสโซซิเอชั่น” เป็นการแข่งของ “ทีมบางกอก” กับ “ทีมกรมศึกษาธิการ” โดยมีผลการแข่งขันจบลงที่เสมอกัน ทั้ง 2 ฝ่าย

จากนั้นจึงได้มีการแข่งขันกีฬาฟุตบอลต่อเนื่องมาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน และกลายเป็นกีฬายอดนิยมของคนไทย ซึ่งพัฒนาการแข่งขันระดับโรงเรียน สู่การแข่งขันระดับท้องถิ่น สู่การแข่งขันระดับเขต สู่การแข่งขันระดับจังหวัด ก้าวขึ้นสู่การแข่งขันระประเทศ และการแข่งขันระดับโลก โดยมีประวัติว่าฟุตบอลทีมชาติไทย ได้มีโอกาสแข่งขันระดับอาเชียน หลายหครั้ง ซึ่งมีลีกการแข่งขันสำคัญๆ ดังนี้

ระดับประเทศ

การแข่งขันฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 , การแข่งขันฟุตบอลลีกดิวิชั่น2 , การแข่งขันฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีก

ระดับเอเชีย และ ระดับอาเซี่ยน

การแข่งขันฟุตบอลซีเกมส์ , การแข่งขันฟุตบอลเอเชียนเกมส์ , การแข่งขันอาเซียนฟุตบอลแชมป์เปี้ยนส์ชิพ , การแข่งขันฟุตบอลเอเชี่ยนคัพ , การแข่งขันซูซุกิคัพ

ระดับโลก

การแข่งขันฟุตบอลโอลิปิกฤดูร้อน , การแข่งขันฟุตบอลโลก

สรุปประวัติฟุตบอลที่เป็นมา ทั้งในประเทศไทย และฟุตบอลโลก คงพอได้รู้ว่า “กีฬาฟุตบอล” เป็นสุดยอดกีฬาที่ยิ่งใหญ่ ระดับโลก และนอกจากประวัติฟุตบอลแล้ว เรายังได้นำ “กฎกติกา การเล่นฟุตบอล” มาฝากกัน ซึ่งหากถามว่า ถ้าไม่ใช่นักเตะในสนาม จำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับกฎการแข่งขันหรือไม่?

ขอตอบว่า….หากผู้ชม มีความเข้าใจในเรื่องกฎและกติกาการแข่งขันฟุตบอล นั่นจะทำให้ การชมการแข่งขันฟุตบอล ยิ่งสนุกสนาน ยิ่งสนุก ตื่นเต้นเร้าใจ มากยิ่งขึ้น ที่สำคัญในปัจจุบัน “การแข่งขันฟุตบอล” ไม่ใช่เพียงการแข่งขันในสนามเท่านั้น แต่ยังกลายมาเป็น “ฟุตบอลออนไลน์” ที่ทำให้ผู้ชม ได้มีส่วนร่วมมากขึ้น ไม่ใช่แค่เพียงเชียร์อยู่ขอบสนาม แต่ยังสามารถลุ้น และได้เงินรางวัลจากการแข่งขันอีกด้วย เราไปดูประวัติของฟุตบอลเรื่องกฎกติกาการแข่งขันฟุตบอล และกฎกติกาของฟุตบอลออนไลน์กัน

กีฬาฟุตบอล

กติกา ฟุตบอล 17 ข้อ

กติกาฟุตบอล เป็นกฎและกติกาฟุตบอลสากลที่กำหนดโดยคณะกรรมการสมาคมฟุตบอลระหว่างประเทศ (ไอเอฟเอบี) ซึ่งมีสมาชิกประกอบด้วยสมาคมฟุตบอล สมาคมฟุตบอลเวลส์ สมาคมฟุตบอลสกอตแลนด์ สมาคมฟุตบอลไอริช และสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ (ฟีฟ่า) ในปัจจุบันมีทั้งหมด 17 ข้อ

กฎข้อที่ 1: สนามฟุตบอล
กฎข้อที่ 2: ลูกฟุตบอล
กฎข้อที่ 3: จำนวนผู้เล่น
กฎข้อที่ 4: อุปกรณ์การเล่น
กฎข้อที่ 5: ผู้ตัดสิน
กฎข้อที่ 6: ผู้ช่วยผู้ตัดสิน
กฎข้อที่ 7: ระยะเวลาการแข่งขัน
กฎข้อที่ 8: การเริ่มต้นการแข่งขัน
กฎข้อที่ 9: บอลออกนอกสนาม
กฎข้อที่ 10: วิธีนับคะแนน
กฎข้อที่ 11: การล้ำหน้า
กฎข้อที่ 12: ฟาวล์
กฎข้อที่ 13: ฟรีคิก
กฎข้อที่ 14: ลูกโทษหรือการยิงจุดโทษ
กฎข้อที่ 15: การทุ่ม
กฎข้อที่ 16: โกลคิก
กฎข้อที่ 17: การเตะมุม

กฎข้อที่ 1: สนามฟุตบอล

  1. สนาม เป็นสนามหญ้ารูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความกว้างต่ำสุด 50 หลา สูงสุด 100 หลา ความยาวต่ำสุด 100 หลา สูงสุด 130 หลา
  2. เครื่องหมายในสนาม เกิดจากเส้นต่าง ๆ โดยในแต่ละเส้นจะมีความกว้างไม่เกิน 5 นิ้ว ทำเป็นสัญลักษณ์ในสนาม ได้แก่
  • เส้นเขตสนาม อยู่รอบเขตสนาม ส่วนที่สั้นเรียก เส้นประตู ส่วนที่ยาวเรียก เส้นข้าง
  • เส้นแบ่งเขตแดน แบ่งสนามตามขวางเป็น 2 ส่วนเท่า ๆ กัน
  • จุดกึ่งกลางสนาม อยู่กึ่งกลางเส้นแบ่งเขตแดน มีวงกลมรัศมี 10 หลาล้อมรอบจุดไว้
  • เส้นประตู เชื่อมระหว่างโคนเสาประตูทั้ง 2 ฝั่ง
  • เขตประตู คือพื้นที่ที่เกิดจากการลากเส้นจากเสาประตูทั้ง 2 ฝั่งตั้งฉากกับเส้นประตู เข้าหาสนามยาว 6 หลา แล้วเชื่อมด้วยเส้นตรง
  • เขตโทษ คือพื้นที่ที่เกิดจากการลากเส้นจากเสาประตูทั้ง 2 ฝั่งขนานกับเส้นประตู ออกจากประตูยาว 16.5 เมตร แล้วลากเส้นตั้งฉากกับเส้นประตู เข้าหาสนามยาว 16.5 เมตร แล้วเชื่อมด้วยเส้นตรง
  • จุดโทษ อยู่ในเขตโทษ ห่างจากเสาประตู 12 หลา มีการเขียนส่วนโค้งนอกเขตโทษ รัศมีห่างจากจุดโทษ 10 หลา
  • ประตู มีสีขาว ระยะห่างระหว่างเสาประตู 8 หลา คานสูงจากพื้น 8 ฟุต มีการติดตาข่ายรองรับลูก
  • มุมธง อยู่ทั้ง 4 มุมของสนาม รัศมี 1 หลา
  • เสาธง เป็นจุดศูนย์กลางของมุมธง ไว้แสดงเขตในการเตะมุม สูงไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร ยอดไม่แหลม ผูกธงไว้ที่ยอด

กฎข้อที่ 2: ลูกฟุตบอล

  • เป็นทรงกลม ทำจากหนัง หรือวัสดุอื่นๆ มีความยืดหยุ่น ตามความเหมาะสมที่ไม่เป็นอันตรายต่อผู้เล่น เป็นฟุตบอลเบอร์ 5 มีเส้นรอบวงประมาณ 68-70 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 410-450 กรัม

กฎข้อที่ 3: จำนวนผู้เล่น

จำนวนผู้เล่นแต่ละทีม ลงได้สูงสุด 11 คน หนึ่งในนั้นเป็นผู้รักษาประตู และแต่ละทีมประกอบด้วยผู้เล่นตัวจริงและตัวสำรอง ผู้เล่นตัวจริงจะเป็นผู้เล่นชุดแรกที่ลงสนาม ส่วนผู้เล่นตัวสำรองมีไว้เพื่อสับเปลี่ยนกับผู้เล่นตัวจริงในกรณีที่ผู้เล่นตัวจริงไม่สามารถเล่นได้หรือกรณีอื่น ๆ ตามความเหมาะสมหรือตามแต่ดุลยพินิจของผู้จัดการทีม (โดยการแข่งขันเพื่อจุดประสงค์ในการคว้าแชมป์จะเปลี่ยนได้ 3 คนเท่านั้น และเมื่อ 18 มีนาคม 2559 ที่ผ่านมา ฟีฟ่ามีมติเห็นชอบให้เปลี่ยนตัวสำรองคนที่ 4 ได้ในช่วงต่อเวลาพิเศษ แต่ถ้าเป็นการแข่งขันกระชับมิตรหรือเฉลิมฉลองสร้างความสัมพันธ์จะมีการเปลี่ยนตัวไม่จำกัด) ผู้เล่นตัวจริงที่ลงสนามต้องมีไม่ต่ำกว่า 7 คน และไม่เกิน 11 คน และหนึ่งในนั้นจะต้องมีผู้เล่นตำแหน่งผู้รักษาประตู 1 คน, ตัวสำรองสามารถมีได้ไม่เกิน 7 คน ถ้าเป็นการแข่งทั่วไป หรือเชื่อมความสัมพันธ์ สามารถกำหนดจำนวนตัวสำรองได้ โดยต้องแจ้งให้กรรมการทราบก่อนการแข่งขัน

กฎข้อที่ 4: อุปกรณ์การเล่น

ลูกฟุตบอล (ตามกฎข้อ 2) ใช้สำหรับเล่น 1 ลูก และ เครื่องแบบของนักกีฬา ทีมทั้ง 2 ทีมที่ลงแข่งขัน สมาชิกทุกคนในทีมยกเว้นผู้รักษาประตูจะต้องใส่ชุดแข่งขันสีเดียวกัน และทั้ง 2 ทีมจะต้องใส่ชุดแข่งที่มีสีตัดกันอย่างชัดเจน จะใส่ชุดที่มีโทนสีคล้ายกันไม่ได้ (เช่น ทีมหนึ่งใส่ชุดแข่งสีขาว อีกทีมหนึ่งใส่ชุดแข่งสีเหลือง) ผู้รักษาประตูจะต้องใส่ชุดแข่งที่มีสีไม่ซ้ำกับผู้เล่นทั้ง 2 ทีม และนักกีฬาที่ทำการแข่งขันจะต้องใส่รองเท้า (ในปัจจุบันไม่อนุญาตให้นักกีฬาใช้เท้าเปล่าในการเล่น)

กฎข้อที่ 5: ผู้ตัดสิน

โดยกรรมการจะมีหน้าที่ดังต่อไปนี้

  • ปฏิบัติตามกติกาข้อ ควบคุมการแข่งขันโดยมีผู้ช่วยผู้ตัดสิน กรรมการผู้ตัดสินคนที่ 4 คอยให้ความร่วมมือช่วยเหลือตามความเหมาะสม
  • แน่ใจว่าลูกบอลทุกลูกทีใช้ในการแข่งขันถูกต้องตามข้อกำหนดของกติกาข้อ 2
  • แน่ใจว่าอุปกรณ์ของผู้เล่นถูกต้องตามข้อกำหนดของกติกาข้อ 4
  • ทำหน้าที่รักษาเวลาการแข่งขัน และเขียนรายงานการแข่งขัน
  • พิจารณาการสั่งหยุดการเล่น หยุดการเล่นชั่วคราว หรือยุติการแข่งขัน (Suspends or Terminate the Match) ทุกกรณีของการกระทำผิดกติกาการแข่งขัน
  • พิจารณาการสั่งหยุดการเล่น หยุดการเล่นชั่วคราว หรือยุติการแข่งขัน เนื่องจากมีสิ่งรบกวนจากภายนอกทุกชนิดทำการรบกวนการแข่งขัน
  • สั่งหยุดการเล่นถ้าดุลยพินิจของเขาเห็นว่าผู้เล่นบาดเจ็บหนักและแน่ใจว่าเคลื่อนย้ายออกจากสนามแข่งขันไปแล้ว ผู้เล่นที่บาดเจ็บนั้นจะกลับเข้าไปในสนามแข่งได้อีกเอภายหลังการเริ่มเล่นใหม่ได้เริ่มเล่นไปแล้ว.
  • อนุญาตให้การเล่นดำเนินต่อไปจนกว่าลูกบอลจะอยู่นอกการเล่นถ้าเห็นว่าผู้เล่นบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย
  • แน่ใจว่าผู้เล่นที่มีเลือดไหลออกจากบาดแผลได้ออกจากสนามแข่นขันแล้ว และผู้เล่นนั้นจะกลับไปเล่นใหม่ได้เมื่อได้รับสัญญาณจากผู้ตัดสิน ซึ่งต้องพึงพอใจแล้วว่าเลือดที่ไหลออกมานั้นได้หยุดแล้ว
  • อนุญาตให้การเล่นดำเนินต่อไปเมื่อทีมที่ถูกกระทำผิดจะเกิดประโยชน์จากการได้เปรียบ และถ้าการคาดคะเนในการให้ได้เปรียบนั้นไม่เป็นตามที่คาดไว้ในขณะนั้น การจะลงโทษตามความผิดที่เกิดขึ้นแต่แรกนั้น
  • ลงโทษความผิดที่ร้ายแรงกว่าในกรณีที่ผู้เล่นทำผิดมากกว่า 1 อย่าง ภายในเวลาเดียวกัน
  • ควบคุมระเบียบวินัยโดยแสดงการต่อต้านต่อผู้เล่นที่กระทำผิดต้องได้รับการคาดโทษ และการให้ออกจากการแข่งขัน เขาไม่ได้ถูกบังคับว่าต้องกระทำในทันทีทันใด แต่ต้องทำทันทีลูกบอลอยู่นอกการเล่นแล้ว
  • ทำหน้าที่แสดงการต่อต้านเจ้าหน้าที่ทีมที่ขาดความรับผิดชอบในการควบคุมการประพฤติปฏิบัติตนเองที่ดี และเขาอาจพิจารณาให้ออกจากสนามแข่งขันและบริเวณแวดล้อมในทันที
  • ปฏิบัติตามการช่วยเหลือของผู้ช่วยผู้ตัดสินตามเหตุการณ์ที่ตนเองมองไม่เห็น
  • แน่ใจว่าไม่มีบุคคลอื่น ๆ ที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้าไปในสนามแข่งขัน
  • ให้ทำการเริ่มเล่นได้หยุดลง
  • เขียนรายงานการแข่งขันเสนอต่อผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ที่ได้แต่งตั้งไว้ ซึ่งรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับการควบคุมระเบียบทุกอย่างที่กระทำต่อผู้เล่นและ /หรือเจ้าหน้าที่ทีมและเหตุการณ์อื่น ๆ ทุกกรณีที่เกิดขึ้นก่อนการแข่งขัน ระหว่างการแข่งขัน หรือภายหลังการแข่งขัน
  • ผู้ตัดสินจะมีสิทธิ์ให้ใบเหลืองหรือใบแดงตามความเหมาะสมต่อเมื่อผู้เล่นทำผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามรุนแรงหรือแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมต่อผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามหรือผู้ตัดสินโดยตรงหรือกรณีอื่นๆแต่อย่างใด

กฎข้อที่ 6: ผู้ช่วยผู้ตัดสิน

ผู้ช่วยผู้ตัดสิน (assistant referee) มีหน้าที่ช่วยเหลือผู้ตัดสินในการควบคุมการแข่งขันให้เป็นไปตามกติกาการแข่งขัน และในกรณีพิเศษผู้ช่วยผู้ตัดสินอาจเข้าไปในสนามได้เพื่อช่วยควบคุมระยะ 9.15 เมตร ถ้าผู้ช่วยผู้ตัดสินเข้าไปเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตัดสินเกินสมควร หรือประพฤติตนไม่เหมาะสมผู้ตัดสินสามารถปลดเขาออกจากหน้าที่ และเขียนรายงานเสนอต่อผู้มีอำนาจหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้งไว้

กฎข้อที่ 7: ระยะเวลาการแข่งขัน

ช่วงเวลาของการแข่งขัน (Periods of Play) การแข่งขันแบ่งออกเป็น 2 ครั้ง ครั้ง ละ 45 นาทีเท่ากัน การรักษาเวลาเป็นหน้าที่ของผู้รักษาเวลา ซึ่งมีหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกติกา 7ข้อ ระยะเวลาของการแข่งขันแต่ละครึ่งเวลา อาจจะมีการเพิ่มการเตะโทษ ณ จุดโทษ

เวลานอก (Time-out) ทั้งสองทีมมีสิทธิ์ขอเวลานอกเป็นระยะเวลา 1 นาที ได้ในแต่ละครึ่งเวลา ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้

1. ผู้ฝึกสอนเท่านั้นที่มีสิทธิ์ในการขอเวลานอก 1 นาที จากผู้รักษาเวลา

2. การขอเวลานอก 1 สามารถร้องขอได้ตลอดเวลา แต่จะให้เวลานอก ก็ต่อเมื่อทีมได้เป็นฝ่ายครอบครองบอล (ส่งลูกบอลเข้าเล่น)

3. ผู้รักษาเวลาต้องแสดงการอนุญาตสำหรับการขอเวลานอกของทีม เมื่อลูกบอลอยู่นอกการเล่นโดยการใช้เสียงสัญญาณอื่น ๆ ที่แตกต่างจากเสียงสัญญาณนกหวีดของผู้ตัดสินที่ใช้อยู่

4. เมื่ออนุญาตให้เป็นเวลานอก ผู้เล่นทุกคนต้องรวมกันอยู่ในสนามแข่งขัน ถ้าต้องได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ทีม จะกระทำได้เฉพาะที่เส้นข้างบริเวณด้านหน้าที่นั่งสำรองของทีมตนเอง ผู้เล่นทุกคนต้องไม่ออกไปนอกสนามแข่งขัน เช่นเดียวกันกับเจ้าหน้าที่ทีมที่ต้องให้คำแนะนำจะต้องไม่เข้าไปในสนามแข่งขัน

5. ถ้าทีมไม่ใช้สิทธิ์ในการขอเวลานอกในครึ่งเวลาแรก จะไม่สามารถนำไปทดแทนในครึ่งเวลาหลังได้ พักครึ่งเวลา (Half – time Interval) การพักครึ่งเวลาต้องไม่เกิน 15 นาที

ข้อตกลง (Decisions)

1. ถ้าไม่มีผู้รักษาเวลา ผู้ฝึกสอนต้องร้องขอเวลานอกได้จากผู้ตัดสิน

2. ถ้าระเบียบการแข่งขันระบุให้มีการต่อเวลาพิเศษ ในกรณีที่การแข่งขันในเวลาปกติ ถ้าผลการแข่งขันจบลงด้วยการเสมอกัน การแข่งขันในระหว่างการต่อเวลาพิเศษของการแข่งขัน จะไม่มีการขอเวลานอก

กฎข้อที่ 8: การเริ่มต้นการแข่งขัน

1. เมื่อเริ่มเล่น ในการที่จะเลือกแดนหรือเลือกเตะเริ่มเล่นก่อน ให้ตัดสินโดยการเสี่ยงเหรียญ (โยนหัว-ก้อย) ฝ่ายที่ชนะการเสี่ยงเป็นผู้มีสิทธิ์ในการเลือกแดนหรือเลือกเตะ

2. เมื่อได้ประตู การเล่นต้องเริ่มต้นใหม่ ในทำนองเดียวกัน โดยผู้เล่นคนหนึ่งของฝ่ายที่เสียประตู เป็นผู้เตะเริ่มเล่น

3. เมื่อหมดครึ่งเวลา การตั้งต้นเล่นใหม่หลังจากได้หยุดพักระหว่างครึ่งเวลาแล้ว ให้เปลี่ยนแดนและให้ผู้เล่นคนหนึ่งของชุดฝ่ายตรงข้ามที่มิได้เตะเริ่มเล่นในตอนแรก เป็นผู้เตะเริ่มเล่น

กฎข้อที่ 9: บอลออกนอกสนาม

ลูกบอลจะอยู่นอกการเล่นเมื่อ

1. ลูกบอลได้ผ่านเส้นประตูหรือเส้นข้างไม่ว่าจะเป็นบนพื้นดินหรือในอากาศออกไปทั้งลูก

2. ผู้ตัดสินสั่งหยุดการเล่นลูกบอลอยู่ในการเล่น (Ball In Play) ลูกบอลอยู่ในการเล่นตลอดเวลารวมทั้งในขณะที่กระดอนจากเสาประตู คานประตู หรือธงมุมสนาม และเข้ามาในสนามแข่งขัน

กฎข้อที่ 10: วิธีนับคะแนน

ถ้าลูกฟุตบอลลอยข้ามเส้นประตูเต็มใบ โดยการเล่นลูกที่ถูกกติกา (ได้แก่การใช้เท้าหรือศีรษะ) ถือว่าได้ 1 คะแนน (ในภาษาฟุตบอลเรียกว่า 1 ประตู) อย่างไรก็ดี มักมีคนเข้าใจผิดว่าการได้คะแนน คือ การที่ลูกบอลสัมผัสกับตาข่ายหลังเส้นประตู ซึ่งจริงๆ แล้วตาข่ายไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกติกาฟุตบอล มีไว้เพื่อรองรับลูกบอลที่เข้าประตูแล้วเท่านั้น

กฎข้อที่ 11: การล้ำหน้า

1. ผู้เล่นจะอยู่ในตำแหน่งล้ำหน้า ถ้าเขาอยู่ใกล้เส้นประตูของคู่ต่อสู้กว่าลูกบอล

2. ผู้เล่นจะถูกตัดสินให้เป็นเล่นล้ำหน้าและจะถูกลงโทษ ถ้าผู้ตัดสินพิจารณาเห็นว่าขณะที่ลูกโดนหรือลูกเล่นโดยผู้เล่นฝ่ายเดียวกัน

3. ผู้เล่นจะยังไม่ถูกตัดสินว่าล้ำหน้า ถ้า

  • เขาเพียงแต่อยู่ในตำแหน่งล้ำหน้าเท่านั้น หรือ
  • เขาได้รับลูกโดยตรงจากการเตะจากประตู การทุ่มจากเส้นข้าง การเตะจากมุม หรือ การปล่อยลูกจากมือโดยผู้ตัดสิน
  • ถ้าผู้เล่นถูกตัดสินให้เป็นเล่นล้ำหน้า ผู้ตัดสินจะให้คู่ต่อสู้ได้เตะโทษโดยอ้อม ณ ที่ซึ่งการละเมิดกติกาได้เกิดขึ้น

กฎข้อที่ 12: ฟาวล์

ผู้เล่นคนใดเจตนากระทำผิดข้อหนึ่งข้อใดใน 9 ข้อ ดังต่อไปนี้

1. เตะ หรือ พยายามจะเตะคู่ต่อสู้

2. ขัดขาคู่ต่อสู้ คือทำหรือพยายามจะทำให้คู่ต่อสู้ล้มลงด้วยการใช้ขา หรือด้วยการหมอบลงข้างหน้าหรือข้างหลัง

3. กระโดดเข้าหาคู่ต่อสู้

4. ชนคู่ต่อสู้อย่างรุนแรง

5. ชนคู่ต่อสู้ข้างหลัง นอกจากคู่ต่อสู้นั้นเจตนากีดกัน

6. ทำร้าย หรือพยายามจะทำร้ายคู่ต่อสู้ หรือถ่มน้ำลายรดคู่ต่อสู้

7. ฉุด ดึง คู่ต่อสู้

8. ผลัก ดัน คู่ต่อสู้

9. เล่นด้วยมือ คือ ทุบ ต่อย ปัด เตะลูกด้วยมือ หรือแขน

กฎข้อที่ 13: ฟรีคิก

การเตะฟรีคิกจะเกิดขึ้นต่อเมื่อผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามทำฟาวล์หรือล้ำหน้าตั้งแต่จุดที่ทำฟาวล์หรือตำแหน่งล้ำหน้า โดยจะผู้เล่นตั้งเตะลูกฟรีคิกตรงจุดที่ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามทำฟาวล์หรือตำแหน่งล้ำหน้า

กฎข้อที่ 14: ลูกโทษหรือการยิงจุดโทษ

การยิงจุดโทษในเวลาการแข่งขันจะเกิดขึ้นต่อเมื่อผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามทำฟาวล์ตั้งแต่ในเขตโทษ การยิงลูกโทษจะเป็นการให้ผู้เล่นยิงดวลตัวต่อตัวกับผู้รักษาประตูโดยที่ผู้เล่นคนอื่นที่ไม่ได้มีหน้าที่ยิงจุดโทษหรือไม่ใช่ผู้รักษาประตูที่จะต้องเซฟจุดโทษจะต้องอยู่บริเวณนอกเขตโทษจนกว่าผู้เล่นที่ยิงจุดโทษจะยิงประตูผู้เล่นคนอื่นจึงจะมีสิทธิ์วิ่งในเขตโทษได้

เมื่อต่อเวลาพิเศษ30นาทีแล้วไม่มีทีมทำประตูได้หรือเสมอจะทำการยิงลูกที่จุดโทษ โดยจะใช้ผู้เล่นยิงสลับกันฝั่งละ5คนเมื่อยิงครบแล้วยังหาผู้ชนะไม่ได้ก็จะยิงต่อไปจนมีผู้ชนะ โดยการยิงลูกจุดโทษนั้นเป็นวิธีสุดท้ายที่หาทีมชนะ

กฎข้อที่ 15: การทุ่ม

การทุ่ม ขณะแข่งขันลูกฟุตบอลได้ออกเส้นข้างไปทั้งลูก ไม่ว่าจะกลิ้งไปบนพื้นสนามหรือลอยไปบนอากาศก็ตาม ให้ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามเป็นฝ่ายได้ทุ่ม

-เท้าทั้งสองข้างต้องติดพื้นตลอดเวลาการทุ่ม

– ต้องทุ่มด้วยมือทั้งสอง ลูกบอลออกจากด้านหลังศีรษะ แขนทั้งสองข้างตึง ” ต้องผ่านศีรษะไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง “

– ด้านหน้าของร่างกายหันหน้าเข้าหาสนามด้านไหนให้ทุ่มไปทางนั้น

– ย่อทุ่มได้ แต่ห้ามนั่งทุ่ม

– บอลออกเส้นข้าง ณ จุดใด ให้ทุ่ม ณ จุดนั้น

– ณ จุดที่มือปล่อยบอล เท้าหรือตัวของผู้ทุ่ม ห้ามห่างจากเส้นข้างเกิน หนึ่งเมตร

– ฝ่ายรับต้องยืนห่างจากผู้ทุ่ม ในสนามแข่งขัน อย่างน้อย ๒ เมตร

– ทุ่มทีเดียว โดยไม่สัมผัสผู้เล่นฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่ง ไม่ถือว่าเป็นประตู

– รับบอลจากการทุ่ม ไม่มีการล้ำหน้า

– ทุ่มบอลคืนให้ผู้รักษาประตู ผู้รักษาประตูใช้มือรับ ให้เตะลูกโทษโดยอ้อม ณ จุดเกิดเหตุ ทันที

กฎข้อที่ 16: โกลคิก

คือ ลูกตั้งเตะจากเขตประตู โดยเมื่อลูกทั้งลูกได้ผ่านเส้นประตูออกไปนอกสนาม นอกจากจะผ่านไปในระหว่างเสาประตูไม่ว่าจะกลิ้งไปบนพื้นสนามหรือลอยไปในอากาศก็ตาม โดยฝ่ายรุกเป็นผู้ถูกลูกนั้นเป็นครั้งสุดท้าย ให้ผู้รักษาประตูเตะจากในกรอบเขตประตู

กฎข้อที่ 17: การเตะมุม

เมื่อลูกทั้งลูกได้ผ่านเส้นประตูออกไปนอกสนาม นอกจากจะผ่านไปในระหว่างเสาประตูไม่ว่าจะกลิ้งไปบนพื้นสนามหรือลอยไปในอากาศก็ตาม โดยฝ่ายรับเป็นผู้ถูกลูกนั้นเป็นครั้งสุดท้าย ให้ฝ่ายรุกนำลูกไปวางเตะภายในเขตมุม ณ ธงมุมใกล้กับที่ลูกได้ออกไปและต้องไม่ทำให้คันธงเคลื่อนที่ ในการเตะจากมุมนี้ ถ้าเตะทีเดียวลูกตรงเข้าประตูให้นับว่าได้ประตู ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามกับผู้เตะจากมุมนั้นจะเข้ามาอยู่ใกล้ลูกในขณะที่ผู้เตะกำลังจะเตะลูกน้อยกว่า 10 หลา ไม่ได้เว้นเสียแต่ผู้เตะจะได้เตะให้ลูกไปได้ไกลอย่างน้อยเท่ากับระยะรอบวงของลูกจึงจะเล่นต่อไปได้ จะเล่นนั้นซ้ำอีกไม่ได้จนกว่าลูกนั้นจะได้ถูกหรือเล่นโดยผู้เล่นคนใดคนหนึ่งเสียก่อน

กฎการแข่งขันฟุตบอล      

  • แต่ละทีมจะมีผู้เล่นที่ลงแข่งขันในสนาท ที่เรียกว่า ตัวจริง ทั้งหมด 11 คน รวมผู้รักษาประตู
  • ลูกฟุตบอล ทำจากหนัง มีทรงกลมเส้นรบวง 68-70 เซนติเมตร
  • แบ่งการแข่งขันออกเป็น 2 ครั้ง ครั้งละ 45 นาที รวมเป็น 90 นาที เวลาพักครึ่งอีก 15 นาที แต่หากยังไม่มีผู้ชนะอาจมีเพิ่มการเตะจุดโทษ
  • การนับแต้ม ทำคะแนนได้ โดยฝ่ายใด ทำลูกเข้าประตูโดยใช้ศีรษะ หรือเท้า จะได้ 1 คะแนน
  • กฎล้ำหน้า จะเกิดเมื่อผู้เล่นอยู่ในตำแหน่งล้ำหน้า และอยู่ใกล้เส้นประตูของฝั่งตรงข้ามกว่าลูกบอล
  • ฟาวล์ หรือผิดกฎโดย ทำร้าย ด่าทอ ผลัด กัน ทุบ ต่อยคู่ต่อสู้ จะถูกกรรมการตัดสินว่าฟาวล์
  • ลูกเตะมุม เมื่อมีลูกที่ผ่านประตูออกไปนอกสนาม โดยผู้ที่แตะลูกคนสุดท้ายทีมใด ลูกเตะมุมจะเป็นของฝั่งทีมนั้น
  • จบการแข่งขันที่ 90 นาที หากทีมใดมีสกอร์การทำคะแนนมากกว่า ทีมนั้นถือว่าชนะทันที

กฎการเดิมพันฟุตบอลออนไลน์

  • สามารถวางเดิมพันได้แบบครึ่งแรก และแบบเต็มเวลา
  • เลือกเดิมพันทายผลผู้ชนะ หรือผลเสมอ ที่เรียกว่า “มันนี่ไลน์”
  • ทายผลผู้ชนะแบบมีแต้มต่อ “เอเชี่ยนแฮนดิแคป” ทั้งแบบแฮนดิแคปเต็มเวลา และแฮนดิแคปครึ่งเวลา
  • ทายผลสกอร์สูง/ต่ำ กว่าที่กำหนด โดยนำสกอร์ของทั้ง 2 ทีมรวมกัน
  • ทายผลสกอร์ ลูกเตะมุม โดยทายผลว่า ทีมที่วางเดิมพัน จะมีจำนวนลูกเตะมุม สูง/ต่ำ กว่าที่กำหนด
  • ทายผลผู้ทำประตู ในเกมการแข่งขันนั้นว่า ใครจะเป็นผู้ทำประตูของทีมนั้นได้
  • ทายผลสกอร์ เป็นการทายผลว่า สกอร์การแข่งขันจะจบลงด้วยสกอร์ที่เท่าใดอ่าน

แหล่งรวมข่าว ที่น่าสนใจ ข่าวกีฬาอื่นๆ

Share

โปรโมชั่นน่าสนใจ

  • ฟรีเครดิต0
    เครดิตฟรี VWIN ไม่ต้องฝาก!!
    26/08/2021

โพสต์ล่าสุด

  • ลิเวอร์พูล
    ซอน ยิงเปิด ดิอาซ ซัดกู้ชีพ ลิเวอร์พูล เปิดรังเจ๊า สเปอร์ส 1-1 โอกาสลุ้นแชมป์แทบจางหายไป
    17/06/2022
  • บริสตอล โรเวอร์ส
    ‘โจรสลัด’ บริสตอล โรเวอร์ส กับ การเลื่อนชั้นที่บ้าคลั่งที่สุด
    17/06/2022
  • รวมเว็บดูโปรแกรมบอล0
    รวมเว็บดู โปรแกรมบอล
    07/06/2022

Menu

  • หน้าแรก
  • โปรโมชั่น
  • วิธีสมัครVwin
  • วิเคราะห์บอลวันนี้
  • เกมสล็อต
  • คาสิโน
    • บาคาร่า
  • ข่าวกีฬา
    • บทความ
footer logo

© 2022 . All Rights Reserved. | by https://vwin247th.com